Category Archives: Editor’s talk

My thoughts (long form) about my life, life update, concerns on the world or society

โควิด กับชีวิต มนุษย์เงินเดือน-ดิจิทัล

  • มีงานทำทุกวันไม่ขาด ที่ขาดคือวิตามินดีจากแสงแดด ใช้ชีวิตหน้าโต๊ะในห้องสี่เหลี่ยม ทั้งวัน อัตราการเผาผลาญพลังงานต่ำ
  • วาปเข้าประชุมเหมือนมีสกิลเทเลพอร์ท เลิกประชุมหนึ่ง ต่ออีกประชุมได้ แค่คลิก 5 วินาที ไม่ต้องเดิน ไม่ต้องลุก ไม่ต้องขนเครื่องเข้าออกห้องประชุม โคตรproductiveประชุมต่อประชุมต่อประชุม ทำได้จริง แต่ก่อนทำไม่ได้ ต้องมีเวลาเดิน
  • คนเข้าประชุมกันตรงเวลามากกว่าประชุมจริง เพราะไม่เลทจากการเดินทาง ขับรถ ซื้อกาแฟ และพักหายใจ
  • เข้าใจกันมากขึ้น ได้คุยกับทีมงาน เพื่อนร่วมงานมากขึ้นกว่าปกติ ปัญหาก็ลดลง หารือกันมากขึ้น จากสมัยก่อนบอกไม่มีเวลา เพราะ ได้เขลาคืนมาจาก การเดินทาง ขยับร่างกาย พักเบรคต่างๆ
  • ได้ใช้ ดิจิทัล เทคโนโลยีในการทำงานแบบเต็มพิกัด เหมือนดั่งประเทศพัฒนาแล้ว ใน ตะวันตก ประชุมออนไลน์ทุกประชุมเป็นมาตรฐานใหม่, เซ็นเอกสารบนPDF ไม่ต้องปริ้นท์, ใช้กูเกิ้ลชีทกันเป็นปกติ, ใช้เทรลโลบริหารทีมและงานต่างๆ ถ้าเป็นสมัยก่อน จะมีคนที่ใช้และไม่ใช้ มันจึงไม่เกิด

ก็เป็นช่วงเวลาที่ทำให้รู้สึกว่า โลกฝั่งดิจิทัล ไม่หยุดนิ่ง ยังคงวิ่งและวิ่งเร็วกว่าเดิม มาตรฐานพัฒนาดีขึ้น การใช้งานเครื่องมือถูกบังคับให้เปลี่ยนพฤติกรรมตามประเทศที่ก้าวล้ำใกล้มากขึ้นไปอีก

ขอบคุณแกรปที่คอยส่งอาหาร #ขอให้โควิดจากไปโดยไวครับ

ชีวิตที่จะเปลี่ยนไป


ในภาวะ โควิด ทำงานจากที่บ้าน ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป … แต่ก่อน ขับรถทุกวัน ใช้ชีวิตอยู่ในรถ ตอนนี้เริ่มห่างหาย ต้องหมั่นเอารถไปขับบ้าง จะได้ไม่มีปัญหาไปเสียก่อน …​ ห้องนอน กลายเป็นห้องทำงาน โชคดีที่มีโต๊ะ เก้าอี้ อยู่ ตั้งแต่หลายปีก่อนที่ไม่สบาย ด้วยโรคออฟฟิศซินโดรมเลยมีเก้าอี้ชุดนี้ … ตอนนี้ ปัจจัยสำคัญของการทำงาน คือ บริการส่งอาหาร (ผมใช้ แกร็ป) ที่เข้ามาส่งทุกวัน วันละหลายๆ รอบ … สมัยก่อน อยู่บ้านก็ไม่เคยสั่งอะไรแบบนี้ ก็ขับรถออกไปทานข้างนอก กับตัวเองแล้ว ไม่เคยคิดจะใช้บริการ อีคอมเมิร์ซสั่งอาหาร เลย ไม่คิดว่าวันนี้ จะสั่งจนชิน กลายเป็นเรื่องธรรมดาไป

พูดถึงอีคอมเมิร์ซ เริ่มมีในไทยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 ต้นๆ นี่กว่า 20 ปี แล้ว อีคอมเมิร์ซยังไม่ถึงจุดผลิบาน ที่ยืนบนขาตัวเองได้อย่างแข็งแกร่งและทำกำไร … การซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซ ยังมีกำแพงหลายๆ อย่าง ร้านค้าขนาดใหญ่ ต้องจูงใจด้วยการส่งฟรี การลดราคามากๆ แต่ยอดขายกลับไปอยู่กับ พ่อค้าแม่ค้าไอจี รายย่อย แต่ก็มีปัญหาเรื่องสินค้าที่ไม่ได้ชำระภาษี ทำให้ราคาถูกกว่าสินค้าที่นำเข้ามาถูกต้องบางรายการ จริงๆ คนไทยกล้าซื้อของออนไลน์นะ ใช้บัตรเครดิตก็ไม่ใช่ปัญหา ถ้า “มีความต้องการจริงๆ” ของที่หายาก มีน้อย จะขายได้ผ่านอีคอมเมิร์ซ แต่ของทั่วไป ที่หาได้ง่าย ตามร้านค้า ถ้าขายราคาเดียวกันกับที่ร้าน ก็ไม่จูงใจคนซื้อ ที่ต้องรอสินค้า ไม่ได้ตรวจสอบเลือกสินค้าเอง กังวลเรื่องการจัดส่งหรือโดนโกง

บริการถัดจากอีคอมเมิร์ซ ที่เข้ามาสร้างสีสัน รูปแบบใหม่ คือ บริการรถรับส่ง (ยังคงเน้นความต้องการใช้รถ ต้องการเดินทาง) อย่าง Uber และตามมาด้วย Grab ที่มารับส่งคน เพื่อไปธุระต่างๆ ดั่ง แท็กซี่แบบใหม่ และพัฒนาไปเป็นบริการ “ขนสินค้า” อย่าง GrabBike LalaMove (แข่งกับการขนส่งเดิมอย่าง Thai Post ไปอีก) กลายมาเป็นเครื่องมือใหม่ๆ เทรนด์ ที่เข้ามาช่วยเสริม การขนส่งสินค้า ของอีคอมเมิร์ซ ทำให้มีตัวเลือกมากขึ้น มีความเชื่อมั่นมากขึ้น

ความสวยงามคือการต่อยอดมาถึง “บริการส่งอาหาร” อีคอมเมิร์ซอาหาร เป็นหัวข้อที่ท้าทาย เพราะสินค้านี้ มีอายุน้อย เก็บไม่ได้นาน สต็อกสินค้ายาก ถ้าทำโดยผู้ให้บริการกลาง แต่โมเดลที่เกิดขึ้น และไปได้ดี คือการที่ ตัวร้านอาหารผู้ผลิต เป็นผู้ให้บริการโดยตรงเสียเอง มีเพียงแพลทฟอร์มตัวกลางที่เข้ามา เชื่อม ร้านอาหาร เข้ากับ ลูกค้า โดยตรง ปัญหา สินค้าประเภทอาหารจึงหมดไป … เดิม ร้านอาหารรายย่อย มีรายได้หลักจากหน้าร้าน ไม่มีทางที่จะมีรายได้หลัก จากบริการส่งอาหาร มีเพียง เชนอาหารอย่าง แมค เคเอฟซี พิซซ่า ที่บุกเบิกบริการสั่งอาหารอย่างมากมาหลายปี แม้ตัวกลางจะพยายามเข้ามาพัฒนาธุรกิจนี้ แต่ถ้าร้านอาหารไม่เอาด้วย ไม่ได้สนใจ ก็ไปไม่ได้ดี

โควิด ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป … ร้าน เดิมไม่สามารถพึ่งพารายได้จากบริการส่ง เพราะคนสั่งน้อย และมีรายได้จากหน้าร้านมากกว่า พอไม่สามารถเปิดให้บริการหน้าร้านได้ และไม่มีลูกค้า เดินไปซื้อจากหน้าร้านพอ บริการสั่งอาหารกลายมาเป็นรายได้หลักของร้าน หน้ามือเป็นหลังมือจากเดิม … จึงให้ความสำคัญ ใส่ใจกับการบริการสั่งอาหาร และเข้ามาในแพลทฟอร์มกันอย่างเร็ว เพื่อความอยู่รอด … ด้าน ดีมานด์​ของลูกค้า ก็ไม่สามารถไปกินที่ร้านได้เหมือนเดิม หันมาใช้แพลทฟอร์มอย่าง Grab กันมากมาย ทันที ดีมานด์การบริโภคของคน ที่ยังอยู่ ย้ายที่จากช่องทาง ออฟไลน์ มาสู่ ช่องทางออนไลน์ทันที … O2O ในไทย เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากการมาของโควิด

ไม่เพียง Grab ที่รายได้ขึ้น ทั้งคนขับ Grab ก็มีรายได้มากกว่าพนักงานกินเงินเดือนไม่น้อยเลย … นอกจาก Grab Shoppee เองก็น่าจะได้รับผลเชิงบวกเหมือนกัน กับการช้อปปิ้ง “แบบปกติ” ที่ย้ายตัวจากในห้าง มาสู่ออนไลน์ ด้วย โควิด … โลกหลังโควิด จะเป็นอย่างไร น่าติดตาม และมาเป้นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังต่อสู้ ฟ่าฟันกันอยู่นะครับ.

ยา อาวีแกน และ ฟาวิพิราเวียร์ เป็นตัวเดียวกัน

ยา อาวีแกน และ ฟาวิพิราเวียร์ เป็นตัวเดียวกัน เป็นตัวยาที่ถูกพูดถึงอย่างมากช่วงนี้ ผลิตโดยจีนและญี่ปุ่นตามลำดับ (ญี่ปุ่นคิดค้น จีนได้สิทธิบัตรจากญี่ปุ่นไปผลิตด้วย) ​ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ภาครัฐแถลงว่าได้ผลเป็นอย่างดี น่าจะเป็นความหวังของมนุษยชาติ ในช่วงนี้ครับ ไทยยังผลิตเองไม่ได้นะครับ ต้องนำเข้า ต้องซื้อมา (ได้รับบริจาคมาเพียงเล็กน้อย)

ติดตามข่าวต่างๆ :-
แถลงการณ์จากภาครัฐล่าสุด
https://www.youtube.com/watch?v=j7BlqXY1RGwhttps://www.youtube.com/watch?v=j7BlqXY1RGw

ญี่ปุ่นจะเพิ่มปริมาณยาอาวิแกนในคลังเตรียมรับมือโควิด-19
https://www.mcot.net/viewtna/5e896984e3f8e40af4433cdd

ยา ‘ฟาวิพิราเวียร์’ ถึงไทยอีก 4 หมื่นเม็ด ส่งรพ.ทั่วประเทศ 3.6 หมื่นเม็ด
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/873632

“อาวีแกน-ฟาวิพิราเวียร์” ตัวยาเดียวกัน
https://www.mcot.net/viewtna/5e75dbefe3f8e40af8425a40

จีนเดินหน้าผลิตยา “ฟาวิพิราเวียร์” รักษาผู้ป่วยโควิด-19
https://www.thansettakij.com/content/425592

โชคดีที่เป็นคนไทย

บ่อยครั้ง ในอดีต เรามักจะได้ความรู้สึกว่า การดูแล การจัดการ การใช้บริการ ของประเทศเรา สู้ ของฝั่งตะวันตกไม่ได้ … แต่จากสถานการณ์ โควิดระบาด ในครั้งนี้ เราได้ติดตาม ไม่เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเมืองไทย แตะในต่างประเทศด้วย ขอบคุณการพัฒนาของอินเทอร์เน็ต เครือข่าย และการเผยแพร่ข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์อย่างกว้างขวาง … ผมได้เห็นว่า ประเทศไทย ก็ยังมีการดูแล ให้บริการ แม้จะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ดีกว่าประเทศในตะวันตก หลายๆ ประเทศ ที่โควิดกำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ในขณะนี้ … บางคนบอกว่า เพราะเขามีคนป่วยมาก เลยดูแลไม่ทั่วถึง ส่วนเรามีน้อย เลยดูเหมือนดีกว่า … อาจจะจริงส่วนหนึ่ง แต่ผมก็ได้เห็น วิธีคิด กรอบความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่ต่างกันของไทย กับฝั่งตะวันตก หลายๆ อย่าง ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ การกระทำ การแสดงออกด้วย … ปัญหาการระบาดในครั้งนี้ อาจจะเป็นตัวที่ได้รับผลจากความแตกต่างนี้ มากกว่าปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ ที่เคยเกิดขึ้น ที่เรามักจะเห็น ประเทศฝั่งตะวันตกมีการให้สวัสดิการที่น่าอิจฉา กว่าของเรา ก็เป็นได้ #เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่ทำงานต่อสู้และทุกคนที่รักษาตัวให้ปลอดภัยนะครับ ทุกวันนี้ไม่เพียงดูข่าวของไทย แต่ก็ดูเฉพาะอันที่น่าเชื่อถือและมีประโยชน์ ข่าวของไทยบางข่าว ที่ไม่จรรโลงก็เลิกติดตามไปนานแล้ว เม้ามอย ใส่ไข่ เสียดสี หรือไม่มีจรรยาบรรณนั้น เสียเวลาออกซิเจนในการอ่าน เอาเวลาไปติดตามข่าวอเมริกา ยุโรปเพิ่มแทน ได้เห็นโลกกว้างกว่า มีสาระกว่ามาก

เครื่องสวิทช์ ดังเป็นวงกว้างในไทย

วิกฤต โควิด หลายธุรกิจเดือดร้อน แต่ผลักดัน ยอดขายเครื่อง นินเท็นโด้สวิทช์ ในไทย พุ่งสูง ทั้งดีมานด์ ความต้องการที่เพิ่ม เพิ่ม เพิ่ม จำนวนซัพพลายที่น้อย เพราะการนำเข้า การผลิต ที่สะดุด ราคาพุ่งขึ้น ของขาดตลาด คนรู้จักแพร่กระจาย ทั้งเครื่อง ทั้งเกม ที่ไม่เคยกระจายกว้างขนาดนี้มาก่อนในไทย #เครื่องแพง #เครื่องขาด #ในวิกฤตก็มีโอกาส ดูคลิปออนไลน์สเตชั่นคลิกลิงค์นะครับ

https://youtu.be/KrojCzb2NE4
https://youtu.be/KrojCzb2NE4

ข่าวในเกาหลียอดขายเครื่องพุ่ง
https://www.thegamepost.com/2020/03/08/coronavirus-boosting-nintendo-switch-playstation-4-sales-south-korea/