วันนี้ มานั่งจัดระเบียบ เว็บไซต์ของตัวเอง เว็บไซต์เป็นสิ่งที่ผมรักที่สุด ในโลกของดิจิทัล โลกที่สร้างตัวผมขึ้นมา ทำให้ผมมีอาชีพ มีตัวตน มีคุณค่า จึงเป็นสิ่งที่ผมรับผิดชอบในการเขียน ถ่ายทอดในหนังสือเล่มแรกของชีวิต re-digital เมื่อหลายปีก่อน
เว็บไซต์เป็น Own media (เรียก channel ก็น่าจะไม่ผิด เพราะบทบาทคือเป็นช่องทาง ในการสื่อสาร) ถ้ามองแบบ Paid-Own-Earn เป็นสิ่งที่เราเป็นเจ้าของ ควบคุมได้ (มากที่สุด เมื่อเทียบกับสิ่งอื่นข้างเคียง) คุ้มค่าในการใช้เวลากับมัน ทำงานแบบ Cross platform รองรับมือถือ (Mobile first) มีคนเข้าถึงได้จากทั่วโลก ผ่าน Google search (สำคัญกับเว็บไซต์มาก)
คู่แข่งสำคัญ ที่ดีไม่แพ้กันคือ Application ให้ชัดน่าจะเรียก Mobile application เป็น Own media เหมือนกัน แต่ Application สร้างยาก ต่างกับเว็บไซต์ที่สร้างง่าย แม้ Application จะมีข้อดี จุดแข็งกว่าเว็บไซต์หลายด้าน แต่ เว็บไซต์ นั้นง่ายต่อการสร้างและดูแล ใครๆ ก็สามารถจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ได้ แต่ ไม่ใช่สำหรับ Application ที่มี Cost of ownership, production, maintenance ที่สูงกว่ามาก
เว็บไซต์ อยู่อย่างเกื้อกูลกับ Google search ซึ่งก็เป็น สินค้าตัวหลักของ Google จึงเรียกว่า เว็บไซต์ มีกูเกิ้ล คอยช่วยพยุงให้อยู่รอด และพัฒนาต่อไปก็ไม่ผิดนัก แต่ถ้าปราศจากกูเกิ้ลเมื่อใด ก็อาจจะไม่ได้ไปต่อ แต่ … ระบบอินเทอร์เน็ต เกิดขึ้นด้วย เว็บไซต์ และมีเว็บไซต์เป็นองค์ประกอบ แม้ในด้านของการใช้งาน ของผู้ใช้ อาจจะหันไปใช้ Application แทนเว็บไซต์ แต่ เว็บไซต์จะยังคงอยู่คล้ายๆ กับ โลกของ Opensource โลกของ Community โลกของผู้สร้าง (Creator/Blogger) การแบ่งปัน การเชื่อมต่อ สิทธิเสรีภาพ ที่ใครๆ ก็สามารถมีเว็บไซต์ของตัวเองได้ โดเมนเนม โลกเสรี cross platform cross country globalization ที่เป็นแก่นแท้ พลังของเว็บไซต์ ไม่ต่างกับที่ Minecraft เวอร์ชั่นมือถือ แม้จะมายึดครองกลายเป็นตัวหลัก เพราะมีผู้ใช้งานที่สูง และกว้างขวาง แต่ Minecraft ระบบเซิร์ฟเวอร์แบบเปิด บนคอมพิวเตอร์ ก็ยังคงมีความสำคัญ และจะยังคงอยู่ จึงกลายเป็น Minecraft Java edition
Platform คืออะไร? พูดถึง ขอแวะสักหน่อย สิ่งใดจะเป็น แพลทฟอร์ม เมื่อมันเชื่อม ผู้คนเข้าด้วยกัน เป็นตลาดกลาง สนามกลาง ให้คนตั้งแต่ สองปาร์ตี้ ได้มาพบกัน ทำธุรกรรมกัน ผมคิดว่าไม่ต่างจาก “ตลาด” หรือ Market แต่ในยุคเทคโนโลยี และดิจิทัล คำว่า Market กลายเป็น Platform เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นกว่าคำเดิมของมัน แต่ความหมายนั้น ยังคงมีแก่นเดิม ไม่ใช่คำว่า แพลทฟอร์ม ถ้ามันเป็นแค่ Channel
แล้ว Channel ล่ะ? การสื่อสารนั้นสำคัญ น่าจะเป็นสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้มนุษย์พัฒนา การสื่อสาร ประกอบไปด้วย สื่อ และ สาร … สื่อที่ช่วยนำพา สาร ไป ในทางดิจิทัล เราเรียกมันว่า Channel ได้ ทำหน้าที่ distribution “สาร” ออกไปยังผู้รับ … ส่วน สาร หรือ Messages เป็นเนื้อหา สาระ หรือ Content เป็นอีกเรื่อง ตัวเนื้อหา หรือ สาร สามารถเดินทางผ่าน ช่องทาง หรือ สื่อ ได้หลายรูปแบบ
ตัว สาร หรือ Content เอง มีหลายมุมมองที่น่าพิจารณา เช่น Interest หรือบางคนก็เรียกเป็น Category คือความสนใจ เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง อีกมุมหนึ่งที่สำคัญคือ Format หรือรูปแบบลักษณะของมัน ว่าเป็น ข้อความ (อย่างเช่นบล็อกนี้) ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และ วิดีโอ ที่เป็นเทร็นด์สำคัญในปัจจุบัน … ล่าสุด จะพูดกันเรื่อง ความยาวของคอนเทนท์แล้ว (ก็ยังคงเกี่ยวกับ Format) เพราะการเปลี่ยนของพฤติกรรม กับ Mobile การเข้าถึง Internet การเติบโตของ Social media คนบริโภคเนื้อหากัน ด้วยเวลาที่น้อยลง มีเวลาน้อย รีบร้อน จึงเกิดการพูดถึง คอนเทนท์แบบ Long form (ยาวๆ ถ้าหมายถึงวิดีโอ จะเป็นตอนละ 20-30 นาที แบบละคร ซีรีส์ หรือภาพยนต์ ยาวเป็น ชม.) และ Short form ที่กำลังมาแรง ตั้งแต่ คอนเทนท์ใน Social media โพสท์ต่างๆ ในเฟสบุ้ค และไอจี ก็คือ ชอร์ทฟอร์ม เมื่อมาถึง วิดีโอ ชอร์ทฟอร์มจะหมายถึง วิดีโอ ละคร ซีรีส์ ที่มีความยาว 5-10 นาที จบเร็วๆ ดูรู้เรื่อง ไม่ใช่แค่เอาคอนเทนท์ยาวๆ มาตัดให้สั้น หรือ ให้ดูต่อตอนถัดไป
พูดเสียยาว พูดเรื่องเว็บไซต์ทีไร จะคิดเรื่องต่างๆ ตามกันมาเป็นกระบวน ยังไม่เข้าเรื่องเลย
พอมาจัดการเว็บไซต์ ก็ได้ตรวจสอบสิ่งต่างๆ เคยเขียนบทความลงในเว็บ MarketingOops เว็บการตลาดชื่อดัง แต่เขียนได้ไม่ต่อเนื่อง ขออภัยผู้ติดตามด้วยครับ ^^” ผู้สนใจ ยังอ่านบทความที่ผมเคยเขียนไว้ (exclusive) ได้ที่นี่ครับ
มาเข้าเรื่องเอา ย่อหน้า สุดท้าย งานดิจิทัลแรกของผม คือ คอลัมน์ TechTalk ที่ผมคิดขึ้นมา ตั้งแต่ก่อนปี 2000 เป็นบทความพูดเกี่ยวกับเทคโนโลยีในตอนนั้น ผมทำเป็นงานอาสาสมัคร เขียนให้กับ NTL หน่วยงานภายใต้ NECTEC กระทรวงวิทยาศาสตร์ หน่วยงานที่ให้ความกรุณา เด็กอย่างผม ได้ฝึกฝน การทำเว็บไซต์ การใช้อินเทอร์เน็ต นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญอีก “จุด” หนึ่ง ที่ทำให้ผมมีวันนี้เลย ขอบคุณจริงๆ ครับ ยังคงระลึกถึงเสมอ
นอกจาก TechTalk แล้ว ผมยังได้ทำงานให้กับ มูลนิธิยุวพัฒน์ ดูแลเว็บไซต์ และมีจุลสาร ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้นเรียก ยุวพัฒน์สาส์น (เช็คแล้ว คิดแล้วผมจึงเปลี่ยนมาใช้ สาร ในหัวข้อบทความนี้) โลโก้นี้ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ผมทำในยุคแรกๆ ก่อนที่จะเรียบจบมาทำงานด้วยซ้ำ งานอาสาสมัครทำให้ผมได้รับโอกาสทำงานเป็นเว็บมาสเตอร์ ไทยกอฟด็อทเน็ท และ ทีมงานทรูฮิตส์ด็อทเน็ต หลังจากนั้น … สิ่งที่เราทำ ไม่เคยเสียเปล่า แม้เราจะไม่ได้คิดก็ตาม
ผมเป็นอาสาสมัคร มาตั้งแต่ปี 1998 จนปี 2001 ที่กำลังเรียน มหาวิทยาลัยปี 4 กลางปีการศึกษา ก็ได้รับบรรจุเข้าทำงานประจำกินเงินเดือนที่ GITS (สบทร.) ถ้านับถึงปัจจุบัน ปี 2020 ก็ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนมา 19 ปี กว่า โดยเป็นงาน ดิจิทัล 18 ปี และอีก 1 ปี ทำงานด้านทีวี แต่ผมจะนับเวลา ประสบการณ์ที่ผมทำงานดิจิทัล ตั้งแต่ปี 1998 จึงได้มาอีก 3 ปี สรุปรวม ประสบการณ์ อยู่ในวงการดิจิทัลเมืองไทยมา 22 ปีแล้ว
หลังจากเรียนมาในสายวิทย์ จนมาเป็นวิศวฯ โยธา ก็ผันตัวมาสู่วงการดิจิทัล เมืองไทย มา 22 ปี มีเรื่องราว เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง มากมาย มีโอกาส จะนำมาถ่ายทอดต่อไปนะครับ (รู้สึกเหมือนกลายเป็นอาจารย์ประวัติศาสตร์ดิจิทัลไปซะแล้ว 555)
“Of course it was impossible to connect the dots looking forward when I was in college. But it was very, very clear looking backward 10 years later.
Again, you can’t connect the dots looking forward; you can only connect them looking backward. So you have to trust that the dots will somehow connect in your future. You have to trust in something — your gut, destiny, life, karma, whatever. This approach has never let me down, and it has made all the difference in my life.”, Steve Jobs’ Commencement address on June 12, 2005 at Stanford
ref: https://news.stanford.edu/2005/06/14/jobs-061505/