ผมสรุปได้ว่าเราเสพเนื้อหาหรือคอนเทนต์อยู่สองแบบ แบบดั้งเดิมคือ Editorial Content หรือเนื้อหาที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น รายการทีวี สารคดี ข่าว แมกกาซีน หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจ คัดสรรมาแล้วโดยกลุ่มผู้ผลิต มักเป็นคนทำงาน มืออาชีพ เป็นธุรกิจ
สองคือ User Generated Content เป็นเนื้อหาที่เกิดจาก คนทั่วๆ ไป ไม่ได้ผ่านการรับรอง หรือเซ็นเซอร์ ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ไม่ใช่ธุรกิจ เช่น บล็อก ยูทู้ป รีวิวและความคิดเห็นในชุมชนออนไลน์ ความรู้ในวิกิพีเดีย
ทุกวันนี้ยังมี UGC อีกแบบนึงที่เกิดขึ้น คือ เนื้อหาที่เป็นเรื่องราวการใช้ชีวิตของคน เป็น Personal Lifestyle Content ที่คนชอบดู ชอบอ่าน เป็นเรื่องราวการใช้ชีวิต สถานที่ที่ไป อาหารที่กิน บ้านที่อยู่ กิจกรรมที่ทำ เช่น อินสตาแกรม เฟสบุ้ค ทวิตเตอร์ หรือกูเกิ้ลกลาส
เนื้อหาแบบที่สามนี้เอง ที่เปลี่ยนคนให้ แชร์เรื่องราวในชีวิตส่วนตัวมากขึ้น อยู่ได้โดยไม่ต้องดูทีวี แต่อยู่ไม่ได้เมื่อไม่มีอินเทอร์เน็ต และสร้างผลกระทบต่อสื่อหลักเดิม ทำให้คนสนใจ ให้เวลากับมันน้อยลง
เนื้อหาก็พัฒนาไป แม้ UGC ยังมีประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้น มีอะไรให้สนใจมากขึ้น มีเวลาน้อยลง หากเราไม่จำกัดเวลาเสพเนื้อหาเหล่านี้ เราอาจจะไม่เหลือเวลาไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้เลย
เจริญ.
ถูกต้องเลยครับ ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เป็น